การร่ายรำและแสดงการใช้ปากคาบครกตำข้าวหนักๆและคาบเรือทั้งลำที่ในปัจจุบันหาชมได้ยากยิ่ง
อาจจะเหลือเพียงคณะเดียวที่สามารถทำได้ ซึ่งการร่ายรำและแสดงมโนราห์ หรือโนรา เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายในภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม
โดยเริ่มจากการร่ายรำท่าครูและท่าปกติที่นิยมร่ายรำของมโนราห์ทุกคณะแล้ว
เมื่อถึงช่วงระทึก เมื่อมีการร่ายรำคาบครก
(ครกตำข้าวซึ่งทำด้วยไม้ทั้งต้นตัดเอาเฉพาะส่วนที่ต้องการนำมาขัดเจาะตรงกลางให้เป็นเบ้าเพื่อใช้ตำข้าว รวมทั้งนำเรือพายทั้งลำขนาดความยาวกว่า 4 เมตร กว้างประมาณ 1เมตร
ที่วางกลางลาน จากการร่ายรำของมโนรา ที่น่าสนุกของ 2 โนราห์ หนึ่งเป็นครูโนราห์ที่มีอายุแล้ว
....การรายรำพร้อมบริกรรมคาถา......จากนั้นลูบศีรษะและเป่ากระหม่อมโนราห์ลูกศิษย์
เพื่อปลุกครูหมอโนราให้เข้าประทับร่าง
ซึ่งจะเป็นผู้ร่ายรำคาบครกคาบเรือ ท่ามกลางปี่กลองที่เพิ่มจังหวะเร่งเร้า
กิริยาของโนราห์เยาว์กว่าจะเปลี่ยนไปจากเดิมเล็กน้อย ตัวสั่น หากรำอย่างคล่องแคล่วและเข็มแข็ง
ช่วงระทึกโนราห์เยาว์ได้ก้มลง ใช้ปากคาบขอบครกและยกครกขึ้นมาแนบอกพร้อมร้ายรำประกอบตามจังหวะเสียงปี่กลอง
จากนั้น จะร่ายรำและก้มลงใช้ปากคาบขอบเรือ หรือที่ภาษาปักษ์เรียกว่า “แคมเรือ” ก่อนยกขึ้นยืน....เรือทั้งลำถูกยกด้วยปากและฟันขึ้นมาแนบอก จากนั้นเดินร่ายรำไปรอบ ๆ ทั้ง ๆ ที่ปากและหันยังคาบเรือทั้งลำเอาไว้