วันนี้ (8 มี.ค. 67) ที่ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานเปิดงานกิจกรรมชุมนุมสตรีตรัง และมอบเกียรติบัตร เนื่องในวันสตรีสากล ครั้งที่ 39 ประจำปี 2567 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง พัฒนาการจังหวัดตรัง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง หัวหน้าส่วนราชการ ประธานกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดตรัง พี่น้ององค์กรสตรีจังหวัดตรัง เข้าร่วมงาน
สำหรับวันสตรีสากลได้รับการรับรองให้เป็นวันสำคัญของโลก โดยองค์การสหประชาชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ซึ่งถือกำเนิดขึ้นจากการเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานหญิงที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ และการถูกเลือกปฏิบัติที่มีต่อชนชั้นแรงงาน ดังนั้นวันสตรีสากลของทุกปี องค์กรที่ทำงานด้านสตรีทั่วโลกก็ได้ออกมาแสดงพลัง และร่วมทำกิจกรรมให้สังคมทั่วโลกได้รับรู้ถึงศักยภาพและพลังสตรี ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม ให้น่าอยู่และสงบสุข ในส่วนของจังหวัดตรัง ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสตรี องค์กรสตรีสิทธิบทบาทสตรี เพราะถือเป็นทรัพยากรบุคคลมากกว่าครึ่งของประชากรเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชุมชน จึงได้มีการจัดกิจกรรมชุมนุมสตรีตรังมาอย่างต่อเนื่องแล้วรวม 38 ครั้ง ตั้งแต่ปิ้ พ.ศ. 2528 จนกลายเป็นตำนานชุมนุมสตรีจังหวัดตรัง และในปีนี้ได้จัดกิจกรรมชุมนุมสตรีตรังขึ้นเป็นครั้งที่ 39 ภายใต้แนวคิด "สตรีตรังรวมพลังสร้างสรรค์งานพัฒนา สร้างความมั่นคงทางอาหาร สืบสาน ภูมิปัญญา OTOP อนุรักษ์ผ้าไทยใส่ให้สนุก" เนื่องจากกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน มีนโยบายสำคัญ เรื่องการน้อมนำแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพร้ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปฏิบัติการปลูกพืชผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหาร สตรีปั่นรักปลูกผักแบ่งปั่นครัวเรือนละอย่างน้อย 30 ชนิด กิจกรรมปลูกพืชผักโรงเรียน วัด มัสยิด นโยบาย OTOP เศรษฐกิจฐานรากด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างงานสร้างอาชีพ สร้างรายได้นโยบายขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยตามมติคณะรัฐมนตรี โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นรีรัตนราชกัญญาทรงออกแบบลายผ้าและได้ประทานลายผ้าพระราชทาน เพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับช่างทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค นำไปทอผ้า ผลิตผ้าตามอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศ และทรงมีแนวพระดำริ "ผ้าไทยใส่ให้สนุก" สตรีจึงถือเป็นผู้ดูแลเศรษฐกิจในครัวเรือน เรื่องปากท้องความเป็นอยู่ อาชีพ รายได้ การออม การอบรมดูแลบุตร การรักษาเอกลักษ์ไทย การส่งเสริมบทบาทสตรี ซึ่งหลักการพัฒนาชุมชน กล่าวไว้ว่า ไม่มีใครรู้ปัญหาและความต้องการของชุมชนได้ดีเท่าคนในชุมชน ดังนั้น "การพัฒนาสตรี 1 คน เท่ากับ การพัฒนาคนได้ทั้งครอบครัว"/การพัฒนาองค์กรสตรีทุกหมู่บ้าน เท่ากับ การพัฒนาสตรีได้ทั้งชุมชนการจัดกิจกรรมในปีนี้ ผู้นำสตรีเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 1,000 คนจาก 10 อำเภอ โดยมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสตรี การพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีและการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติแค่ผู้นำสตรี ที่ทำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมชุมชน และสั่งคม ได้แก่ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์รับบริจาคโลหิตของสมาชิกสตรีในระดับตำบล หมู่บ้าน ,กิจกรรมสืบสานภูมิปัญญา OTOP ,บรรยายการพัฒนาสตรีและองค์กรสตรี,กิจกรรมเดินแบบโชว์ผ้าไทย 11 ทีม, ส.ส.ตรัง พบปะสร้างคุณค่า เสริมพลังใจ พัฒนาสตรีตรัง,การแสดงกลุ่มสตรี,การมอบเกียรติบัตรแก่สตรีดีเด่น, และการจัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพสตรี