Admin Button
อีเมล์/เลขบัตรประชาชน :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ข่าวประชาสัมพันธ์
จังหวัดตรังจัดโครงการรวมพลคนรักษาทะเล เก็บขยะทะเลเกาะเบ็ง (เกาะตะเกียง) เพื่อลดมลภาวะทางทะเล และภัยสุขภาพจากไมโครพลาสติกภายใต้การขับเคลื่อนตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทำความดีด้วยหัวใจลดภัยสิ่งแวดล้อม
1 เมษายน 2567

วันนี้ (30 มี.ค. 67) ที่เกาะเบ็ง (เกาะตะเกียง) ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานเปิดโครงการรวมพลคนรักษาทะเล เก็บขยะทะเลเกาะเบ็ง (เกาะตะเกียง) เพื่อลดมลภาวะทางทะเล และภัยสุขภาพจากไมโครพลาสติกภายใต้การขับเคลื่อนตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทำความดีด้วยหัวใจลดภัยสิ่งแวดล้อม โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคีเครือข่ายต่างๆ และชาวประมงพื้นบ้าน เข้าร่วมกิจกรรม

ผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวว่า ปัญหาขยะมูลฝอย โดยเฉพาะขยะทะเลเป็นขยะอีกประเภทหนึ่ง ที่เราจะต้องรีบดำเนินการจัดการและแก้ไขปัญหาซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วขยะทะเลจะมาจากฝีมือมนุษย์บนฝั่งและส่วนใหญ่เป็นประเภทโฟมและพลาสติก ซึ่งจะก่อให้เกิดไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหาร และกลับคืนสู่ร่างกายของมนุษย์ในที่สุด นอกจากนี้ขยะพลาสติกยังส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล สัตว์ทะเลหายาก ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของการตายของพะยูนมาเรียม ในปัจจุบันขยะมูลฝอยเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นวาระสำคัญของโลกและประเทศไทย โดยประเทศไทยมีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศภายใน พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) หรือที่เรียกว่า NDC (Nationally Determined Contribution) มีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 20-25 บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) ซึ่งหลายๆ

กระทรวง รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาและเตรียมพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สำหรับประเทศไทยติดอันดับ 10 ของโลกที่มีขยะรั่วไหลลงทะเล โดยร้อยละ 80 ของขยะทะเลมาจากขยะบก และร้อยละ 20 เกิดจากกิจกรรมในทะเล (เช่นการประมง การขนส่งทางน้ำ การท่องเที่ยว) โดยร้อยละ 90 ของขยะที่รั่วไหลลงทะเลเป็นโฟม

และพลาสติกในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะแตกสลายเป็นไมโครพลาสติกหรือพลาสติกขนาดเล็ก

ปนเปื้อนเข้าสู่ระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหารทะเล ซึ่งย้อนกลับมาสู่มนุษย์ด้วยการบริโภคอาหารทะเลที่เจือปนพลาสติกเหล่านั้น

จังหวัดตรังได้ให้ความสำคัญถึงปัญหาขยะพลาสติก โฟมและอื่นๆ ที่ถูกพัดพามากับคลื่นลมทะเลสะสมอยู่จำนวนมาก บนเกาะเบ็ง (เกาะตะเกียง) ซึ่งในวันนี้ได้รับความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ เก็บขยะกลับคืนสู่ฝั่ง และคัดแยกขยะเพื่อเข้าสู่ระบบรีไซเคิล ส่วนที่เหลือเป็นขยะพลาสติก บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด จะนำไปกำจัดใช้เป็นเชื้อเพลิง ณ โรงงานปูนซีเมนต์ทุ่งสงต่อไป

×
1 / 15
2 / 15
3 / 15
4 / 15
5 / 15
6 / 15
7 / 15
8 / 15
9 / 15
10 / 15
11 / 15
12 / 15
13 / 15
14 / 15
15 / 15